ขั้นตอนการต่อภาษีรถยนต์และพรบรถยนต์ ออนไลน์ ขั้นตอนการต่อทะเบียนรถ
พ.ร.บ. รถยนต์ คือ ประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับที่รถทุกคันต้องทำไว้ จะคุ้มครองในส่วนของความเสียหายต่อร่างกาย เช่น ได้รับการบาดเจ็บหรือเสียชีวิต โดยจะได้รับค่าชดเชยตามกำหนด ค่ารักษาสูงสุด 80,000 บาท และค่าชดเชยการเสียชีวิต 300,000 บาท โดย พ.ร.บ.รถยนถต์ จะมีอายุ 1 ปี และต้องต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ ทุกปีเสมอ
สำหรับนักขับทุกท่านหลายครั้งที่เรามักจะเจอกับด่านตรวจ โดยทั่วไปเจ้าหน้าที่จะเพ่งเล็งมาที่ป้ายภาษีรถของเรา หากป้ายภาษีใกล้หมดเราควรดำเนินต่อภาษี เพื่อหลีกเลี่ยงการโดนปรับจากเจ้าหน้าที่ การต่อภาษีรถยนต์เป็นเรื่องสำคัญที่เราจะมองข้ามไปไม่ได้เลย เพราะหากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันขณะที่ขับขี่รถอยู่ และรถยนต์ที่ขาดการต่อภาษีรถยนต์เกิน 3 ปีจะถูกระงับทะเบียนรถยนต์นั้นๆ ถูกยึดเลขและป้ายทะเบียน ต้องไปทำเรื่องที่ขนส่งเพื่อขอทำทะเบียนใหม่ซึ่งก็ยุ่งยากไปอีก ดังนั้นเราควรไปต่อภาษีไว้ก่อน ขั้นตอนการเสียภาษีรถนั้นมีทั้งการใช้บริการบริษัทฯเอกชนที่รับจ้างดำเนินการ (เสียค่าบริการเพิ่ม) และการต่อภาษีด้วยตนเองซึ่งไม่มีอะไรยากและทำได้เร็วกว่าจ้างบริษัทฯ เอกชนให้ต่อภาษีให้ วันนี้ทางศรีกรุงโบรคเกอร์ นายหน้าประกันภัยรถยนต์ จะมาแนะนำวิธีการต่อภาษีรถด้วยตนเอง และค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในการต่อภาษี
เอกสารที่ต้องเตรียม
- ทะเบียนรถ หรือ สำเนาทะเบียนรถ (กรณีที่อยู่ระหว่างเช่าซื้อรถกับสถาบันการเงิน หรือ ที่เรียกว่า ติด Finance)
- หลักฐานการผ่านการตรวจสภาพรถ
- รถอายุเกิน 7 ปี สามารถตรวจสภาพรถ ณ สำนักงานขนส่งจังหวัด หรือสถานตรวจสภาพรถเอกชน (ตรอ.) ได้
- รถที่ขาดการต่อทะเบียนเกิน 1 ปี หรือ ดัดแปลง สภาพรถไม่ตรงกับที่แจ้งไว้ในสมุดคู่มือประจำรถ ต้องตรวจสภาพรถ ณ สำนักงานขนส่งจังหวัดเท่านั้น เช่น ติดแก๊ส
- LPG ตรวจ 1 ครั้ง ใช้ได้ 5 ปี
- CNG ตรวจทุกปี
- พ.ร.บ. รถยนต์ ซึ่งปัจจุบัน พ.ร.บ. รถ สามารถต่อ พ.ร.บ. ออนไลน์ หรือ ซื้อออนไลน์ได้แล้ว โดยขั้นตอนการต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ก็สามารถทำได้ง่ายๆ ผ่านเว็บไซต์ อย่าง srikrung-broker.info ซื้อง่ายเพียง 3 ขั้นตอนเท่านั้น ต่อ พ.ร.บ. ออนไลน์ ราคาเริ่มต้นเพียง 569 บาทเท่านั้น จะได้รับกรมธรรม์ พ.ร.บ. รถยนต์ทันทีทางอีเมล สามารถปริ๊นท์และนำไปต่อภาษีรถยนต์ได้ทันที (หลังจากทำ พ.ร.บ. ก็ต่อภาษีรถยนต์ได้เลย โดยสามารถต่อล่วงหน้าได้ไม่เกิน 90 วัน)
เมื่อเอกสารครบแล้ว ก็มาดูกันในส่วนของช่องทางการชำระภาษีช่องทางต่างๆ กันบ้าง ซึ่งในปัจจุบันมีให้เลือกมากมายหลากหลายช่องทาง ดังนี้
- ชำระผ่านเว็บไซต์ https://eservice.dlt.go.th (เฉพาะรถที่ยังไม่ต้องตรวจสภาพ)
- ชำระด้วยตนเองที่สำนักงานกรมการขนส่งทางบกทุกแห่งทั่วประเทศ
- เลื่อนล้อต่อภาษี (Drive Thru for Tax)
- ชำระผ่านเคาน์เตอร์เซอร์วิสร้านสะดวกซื้อ 7-11 (เฉพาะรถที่ยังไม่ต้องตรวจสภาพ)
- ชำระผ่านแอพพลิเคชั่น (เฉพาะรถที่ยังไม่ต้องตรวจสภาพ)
- ชำระผ่านธนาคาร ที่ทำการไปรษณีย์ (เฉพาะรถที่ยังไม่ต้องตรวจสภาพ)
- ห้างสรรพสินค้าที่เข้าร่วมโครงการ “ช้อปให้พอ แล้วต่อภาษี (Shop Thru for Tax)”
- ห้างบิ๊กซี สาขากรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 14 สาขา ได้แก่ ลาดพร้าว รามอินทรา รัชดาภิเษก บางปะกอก เพชรเกษม สุขาภิบาล3 อ่อนนุช แจ้งวัฒนะ สำโรง บางบอน สุวินทวงศ์ สมุทรปราการ บางใหญ่ บางนา
- ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล สาขารามอินทรา
- ศูนย์การค้าพาราไดซ์ พาร์ค ถนนศรีนครินทร์
- ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลเวิลด์
- ศูนย์บริการร่วมคมนาคม (เชิงสะพานสมเด็จพระเจ้าตากสิน)
นอกจากนี้การต่อภาษีรถยนต์จะต้องทราบเรื่องขนาดเครื่องยนต์ด้วย โดยราคาต่อภาษีรถยนต์จะขึ้นอยู่กับขนาดเครื่องยนต์ (CC) ซึ่งราคาต่อภาษีรถยนต์สำหรับรถนั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 ที่นั่ง (รถป้ายทะเบียนขาวตัวหนังสือดำ) รายละเอียดดังนี้
1-600 ซีซีละ 0.50 บาท
601-1,800 ซีซีละ 1.50 บาท
1,801 ขึ้นไป ซีซีละ 4 บาท
เมื่อดำเนินการเรียบร้อย จะได้ป้ายวงกลมที่ออกโดยกรมการขนส่งทางบก ในส่วนของใบเสร็จก็มีประโยชน์อย่าเพิ่งทิ้ง! สังเกตส่วนด้านท้ายใบเสร็จมีระบุวันหมดอายุ และแจ้งจำนวนเงินที่ต้องจ่ายในการต่ออายุปีถัดไปให้เรียบร้อย
อย่าลืมว่า ก่อนจะต่อภาษีรถยนต์จะต้องซื้อ พ.ร.บ. รถให้เรียบร้อยก่อน ดังนั้นใครที่ พ.ร.บ. ใกล้หมดอายุ สามารถซื้อออนไลน์ได้ง่ายๆ ที่ ศรีกรุงโบรคเกอร์ ประกันภัยรถยนต์ ราคาเริ่มต้นเพียง 569 บาทเท่านั้น ซื้อผ่านออนไลน์ สะดวกง่าย ได้รับกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ทันทีทางอีเมล คลิกที่นี่ เพื่อซื้อเลย!